รางวัล ของ ดอนนา สตริกแลนด์

Strickland shares how a trip to the science centre with her father at the age of five helped shape her career in optics, 2018

รางวัลโนเบล

เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม ค.ศ. 2018 สตริกแลนด์ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์สำหรับงานด้าน chirped pulse amplification ร่วมกับที่ปรึกษาปริญญาเอกของเธอ เฌราร์ มูรู โดย อาร์เธอร์ แอชกิน (Arthur Ashkin) ได้รับรางวัลอีกครึ่งหนึ่งสำหรับอีกงานเกี่ยวกับคีมจับเชิงแสง (optical tweezers) ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกัน

สตริกแลนด์และมูรูเผยแพร่งานชิ้นบุกเบิกของพวกเขาที่มีชื่อว่า "Compression of amplified chirped optical pulses" ใน ค.ศ. 1985 ขณะที่สตริกแลนด์ยังเป็นนักศึกษาปริญญาเอกภายใต้มูรู[lower-alpha 1] การคิดข้น chirped pulse amplification สำหรับ lasers ของพวกเขา ณ ห้องทดลองสำหรับพลังเลเซอร์ในโรเชสเตอร์[10] นำไปสู่การพัฒนาด้านลำแสงพลังสูงแบบสั้นพิเศษ ด้วยความที่ลำแสงเหล่านี้มีความแหลมคมและยังสามารถใช้ได้ในระยะเวลาสั้นเป็นพิเศษทำให้พวกมันสามารถใช้ตัดสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างแม่นยำ จนถูกนำไปใช้ในการขึ้นรูปขนาดเล็กด้วยเลเซอร์ (laser micromachining) การผ่าตัดด้วยเลเซอร์ การแพทย์ การศึกษาวิทยาศาสตร์ขั้นมูลฐาน และในด้านอื่น ๆ งานวิจัยนี้ทำให้แพทย์สามารถทำการผ่าตัดตาโดยใช้เลเซอร์เพื่อทำให้สายตาเป็นปกติได้[18] เธอกล่าวว่าหลังพัฒนาเทคนิคขึ้นมา พวกเขาก็รู้ว่ามันจะเป็นการค้นพบที่สำคัญ[11] สตริกแลนด์เป็นผู้หญิงคนที่สามที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์และเป็นผู้หญิงคนแรกในรอบ 55 ปี หลังจาก มารี กูว์รี ใน ค.ศ. 1903 และ Maria Goeppert-Mayer ใน ค.ศ. 1963[5][19]

หลังได้รับรางวัลโนเบล หลายคนต่างแปลกใจที่เธอยังไม่ได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์เต็มตัว โดยสตริกแลนด์อธิบายว่าเธอ "ไม่เคยสมัคร" ขอตำแหน่งศาสตราจารย์[20] "เพราะตำแหน่งไม่ได้ทำให้เงินเดือนมากขึ้น" ดังนั้นเธอจึง "ไม่เคยจัดการกรอกเอกสาร" เธอยังกล่าวอีกว่า "ฉันทำในสิ่งที่ฉันอยากทำและสิ่งนั้นไม่คุ้มที่จะทำ"[6]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ดอนนา สตริกแลนด์ http://fortune.com/2018/10/16/nobel-donna-strickla... http://citeseerx.ist.psu.edu/viewdoc/download?doi=... //citeseerx.ist.psu.edu/viewdoc/summary?doi=10.1.1... http://www.lle.rochester.edu/media/publications/do... http://www.rochester.edu/newscenter/rochesters-bre... http://www.faz.net/aktuell/wissen/nobelpreise/phys... //doi.org/10.1016%2F0030-4018(85)90120-8 //doi.org/10.1016%2F0030-4018(85)90151-8 //doi.org/10.1109%2F3.137 //doi.org/10.1364%2FJOSAB.11.000492